ตอนที่ 4เรื่องราว ต่างๆเกี่ยวกับดาวเทียมในส่วนของภาคทษฎี จากบทความใน 3 ฉบับที่ผ่านมาเชื่อว่า ได้จุดประกายให้หลายๆท่านที่สนใจอยากที่จะทดลองติดจานดาวเทียมด้วยตัวเองกันพอสมควรทีเดียว เพราะนอกจาก จะได้รับความรู้ต่างๆและประสบการณ์แล้วยังทำให้เกิดภาคภูมิใจในผลงานของตัวท่านเองอีกด้วย ซึ่งช่วงนี้ก็ข้าสู่หน้าฝนแล้วและสภาพอากาศก็ผันผวนแปรปรวนยากเกินจะคลาดเดาได้ จะขับรถเดินทางไปไหนคงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ฉบับนี้เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศหน้าฝนจึงขอหลบฝนเข้าห้องเรียนเพื่อเรียนรู้ทฤษฏีที่จำเป็นบ้าง ในฉบับที่ผ่านจะเห็นว่าเส้นรุ้ง-เส้นแวงของจุดที่ติดตั้งจานดาวเทียมและตำแหน่งของจานดาวเทียมนั้นมีความสำคัญอย่างมากในการคำนวณ และหาค่ามุมต่างๆเพื่อปรับจานดาวเทียม เราจะมาเจาะลึกกันว่าเส้นรุ้ง-เส้นแวงนั้นมีที่มา และมีความหมายอย่างไรและสำคัญอย่างไรในการติดตั้งจานดาวเทียม เส้นรุ้ง(ตะแคง)หรือเส้นละติจูด(Latitude)เป็นเส้นสมมุติในแนวนอนที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยอ้างอิงศูนย์สูตร(Equator)ซึ่งกำหนดให้ให้ที่เส้นศูนย์สูตรมีค่าละติจูดที่ 0 องศา หากไล่ขึ้นไปทางเหนือจะจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือ ซึ่งจะเป็นค่าละติจูดที่ 90 องศาเหนือ หากนับลงจากศูนย์สูตรไล่ลงไปทางใต้จะไปสิ้นสุดที่ขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นค่าละติจูดที่ 90 องศาใต้ จะสังเกตได้ว่าเส้นรุ้งที่มีค่าต่ำสุด 0 องศาก็คือที่เส้นศูนย์สูตร และมีค่าสูงสุดที่ 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง ดังนั้นการระบุพิกัดเส้นรุ้งหรือเส้นละติจูด นั้นจะต้องระบุว่า เป็นเหนือ (N) หรือ ใต้ (S) เอาไว้ด้วยทุกครั้ง พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีสภาพอุณหภูมิอากาศที่ต่างกันด้วยเช่นกัน โลกเรานั้นแบ่งสภาพอุณหภูมิออกเป็น 3เขต 1.เขตร้อน 2. เขตอบอุ่น 3. เขตหนาว สำหรับพื้นที่ของประเทศไทย(ดูได้จากแผนที่ในตอนที่3)จะอยู่ในช่วงประมาณเส้นรุ้งที่ 5.5ถึง20.5 องศาเหนือ ซึ่งจัดอยู่ในเขตร้อน เส้นแวง( เส้นตั้ง ) หรือลองติจูด (Longitude) เป็นเส้นสมมุติขึ้นมาอีกเช่นกัน แต่เป็นที่เส้นสมมุติในแนวตั้งที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางทิศตะวันออก หรือตะวันตก จากเส้นอ้างอิง เรียกว่า เส้นไพรม์เมอริเดียน(Prime Meridian)ลองจิจูดนั้นมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นไพรม์เมอริเดียนไล่ไปทางทิสตะวันออก 180 องศา และไล่ไปทางทิสตะวันตก 180 องศา ลองติจูดแตกต่างจากละติจูดตรงที่เส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ แต่ลองติจูดไม่มีดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนอเส้นสมมุติขึ้นมาอีกเส้นหนึ่งสำหรับอ้างอิง ใน ค. ศ .1884 นักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมประชุมเมอริเดียนนานาชาติ จึงได้ตกลงร่วมกันว่าให้เส้นเวลาที่เมืองกรีนิซ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆใกล้ๆกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเป็นเส้นไพรม์เมอริเดียน และเป็นลองจิจูดที่ 0 องศาส่วนจุดที่เส้นแวงไปบรรจบกัน(180องศา) นั้นจะอยู่บริเวณมหาสมุทรแปรซิฟิกใกล้ประเทศนิวซีแลนด์ และเนื่องจากเส้นแวงหรือลองจิจูดจากเส้นไพรม์เมอริเดียน ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ดังนั้นการระบุพิกัดลองจิจูด จึงจำเป็นต้องระบุได้ว่า เป็นลองจิจูดที่กี่องศาตะวันออก(E)หรือลองจิจูดที่กี่องศาตะวันตก(W) สำหรับพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอยู่ในช่วงแวงที่ 97.50ถึง105.5 องศตะวันออก
บทสรุป เส้นรุ้งและเส้นแวงมีไว้สำหรับอ้างอิงตำแหน่งบนพื้นโลกเพราะถ้าหากไม่มีเส้นรุ้งและเส้นแวงตัวนี้ ไว้อ้างอิงแล้ว การจะบอกตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกนั้น คงจะสับสนวุ่นวายเลยทีเดียวนอกจากนี้วัตถุต่างๆที่โคจรอยู่รอบโลก ( เหนือพื้นโลก ) เช่นสถานีอวกาศหรือดาวเทียมต่างๆ ก็ระบุตำแหน่งโดยการอ้างอิงจากตำแหน่งของเส้นรุ้ง-เส้นแวงบนพื้นโลกด้วยเช่นกัน โดยการอ้างอิงนั้นจะมีความหมายว่าดาวเทียมดวงนั้นๆ ลอยอยู่เหนือพื้นโลกที่พิกัดเท่าไร เลขค่าพิกัดที่ระบุตรงส่วนท้ายของดาวเทียมนั้นๆก็เช่นกัน เช่น ดาวเทียมTHAICOM2/5 ( 78.5@หมายความดาวเทียม ) THAICOM2 และTHAICOM5 ที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลกที่พิกัดลองจิจูด(เส้นแวงที่)78.5 องศาตะวันออกหรืออีกตัวอย่างหนึ่ง AsiaSat 3S(105.5 ํE)หมายความว่าดาวเทียมดวงนี้ลอยู่เหนือพื้นที่โลกที่พิกัดลองจิจุด (เส้นแวง) 105.5 องศาตะวันออก
สถานีอวกาศและดาวเทียมต่างๆที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลกของเรา ก็อ้างอิงตำแหน่งจากเส้นรุ้งและเส้นแวงบนพื้นโลกด้วยเช่นกัน |
ส่วนสาเหตุ ที่ไม่ระบุพิกัดละติจูด(เส้นรุ้ง)เป็นเพราะว่าดาวเทียมที่ใช้ถ่ายทอดบริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมนั้น เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ( Geostationary Satellte ) ซึ่งโคจรของดาวเทียมค้างฟ้านั้นจะลอยอยู่บนเหนือเส้นศูนย์สูตรหรือเส้นรุ้งที่ 0 องศาเหมือนกันหมดทีนี้ลองย้อนกลับไปดูที่เมนูเครื่องรับ Dynasat Namber 1Mini ในส่วนของ เมนูที่ใช้ในการหาค่ามุมสำหรับปรับจานดาวเทียม จะเห็นได้ว่าใน 3 บรรทัดแรกค่าพิกัดที่ใส่เข้าในต้องระบุว่าองศาตะวันออก-ตก (E-W) หรือองศาเหนือ-ใต้(N-S)ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องรับทุกรุ่นที่แต่ละบริษัทนำเข้ามาจำหน่ายในเมืงไทยนั้นตัวโปรแกรมถูกออกแบบมาสำหรับติดตั้งใน โซนตะวันออก-ทากซีกโลกเหนือ (ได้แก่ประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปยุโรป)หากท่านำไปใช้ในซีกโลกใต้เช่นพื้นที่บางส่วนของอินโดนิเซีย หรือออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นต้น หรือนำไปคำนวณการติดตั้งในโซนตะวันตก เช่นสหรัฐอเมริกา การคำนวณค่ามุมด้วยก็จะผิดพลายดไป
"ผู้ผลิตจานดาวเทียมหลายๆ ค่ายยังไม่รู้เลยว่า Scalar Ring นั้น มีไว้ทำอะไ ถึงขนาดบางค้ายต้องการลดต้นทุนจึงปลั๊มแผ่นเหล็ก หรือฉีดพลาสติกมายึด LNBF แทนมันจะชัดได้อย่างไร?"
ขณะฝนตกนั้นทำให้ความแรงของสัญญาณจานดาวเทียมลดลงจริงไหม ถ้าช่วงเข้าสู้หน้าฝนแล้ว สงสัยกันหรือไม่ว่าทำไมเวลาฝนตกความแรงของสัญญาณจากจานดาวเทียมจึงลดลง ? ทราบกันมาบ้างแล้วว่าเมื่อเกิดฝนตก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือสัญญาณดาวเทียมที่วิ่งผ่านสายฝนลงมาจะมีความแรงลดลงจริงๆแล้วอะไรเกิดขึ้นกันแน่? หลายๆท่าน อาจตอบว่าสัญญาณดาวเทียมถูกหยดน้ำดูดซับสัญญาณเอไว้เอาไว้ คำตอบนี้คงไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากโดยธรรมชาติน้ำจะเป็นตัวสะท้อนคลื่นหากเปรียบเทียบจากการดูดซับสัญญาณดาวเทียมจากสายฝนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ก็คงจะเปรียบเทียบ ได้กับฟองน้ำได้ดูดซับน้ำเอาไว้ได้ทั้งๆที่ตัววัสดุที่ใช้ทำฟองน้ำเองนั้นเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติในการซับน้ำเลย แต่เจ้ารูพรุนจำนวนมากในฟองน้ำต่างหากทำหน้าที่ดูดซับน้ำเอาไว้ รูปที่ 4 การเกิดภาวะฝนตก ในกรณีที่ฝนตกก็เช่นเดียวกัน จะมีช่องว่างระหว่างเม็ดฝนเกิดขึ้น เมื่อสัญญาณดาวเทียมวิ่งผ่านสายฝน ลงมาก็จะสะท้อนเม็ดฝนกันไปมาภายในสายฝนกันไปมาภายในกลุ่มฝนจนดูลาวกับว่ากลุ่มฝนนั้นเป็นฟองน้ำขนาดยักษ์ที่คอยดูดซับสัญญาณดาวเทียมซึ่งเปรียบเสมือนน้ำเอาไว้นั่นเอง ดังนั้นเมื่อเกิดฝนตก ในบริเวณพื้นที่ให้บริการทางสถานีภาคพื้นดินหรือ Ground Station จะทำการส่งสัญญาณให้แรงขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาศให้สัญญาณบางส่วนหลุดรอบลงมาได้ แต่เนื่องจากความถี่ที่ถูกส่งลงมาจากดาวเทียมในระบบ C และ KU Band นั้นมีความถี่ที่แตกต่างกันมาก( C- Band มีความถี่ในช่อง 3.4-4.2GHz ส่วน KU-Band มีความถี่ในช่อง 10.70-12.75GHz)คลื่นที่มีความถี่ต่ำกว่าจะสอดแทรกช่องว่างระหว่างเม็ดฝนลงมาได้ดีกว่าคลื่นที่มีความถี่สูง ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อมีฝนตกหนักๆสัญญาณดาวเทียมที่ส่งด้วยความถี่ในระบบ KU-Band จึงไม่สามารถทะลุกลุ่มลงฝนลงมาได้ ซึ่งต่างจากสัญาณดาวเทียมในระบบ C-Band ที่ยังคงรับได้อย่างสบายถึงแม้ฝนจะตกหนักก็ตาม และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือฝนมัก จะตกหนักในช่วงกลางคืน ช่วงที่มีการถ่ายทอดฟุตบอลซะด้วย! สกาลาร์ริง วงแหวนซับคลื่น เมื่อพูดถึงเรื่องการซับคลื่นสัญญาณดาวเทียม ของกลุ่มฝน ทำให้ผู้เขียนนึกถึงอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ติดตั้งไว้เพื่อให้ทำหน้าที่ซับคลื่นสัญญาณดาวเทียมโดยเฉพาะ อุปกรณ์ที่ว่าก็คือ Scalar Ring(สกาล่าริง)หลายท่านพอเห็นภาพแล้วก็คงจะนึกออกมาว่า Scalar Ring เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับ LNBF นั้นเอง แทบไม่เชื่อว่าช่างส่วนใหญ่รวมถึงผู้ผลิตจานดาวเทียมหลายๆ ค่ายเองยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า Sacalar Ring นั้นมีไว้ทำอะไร ถึงขนาดที่ว่าบางค่ายต้องการลดต้นทุนจึงปั๊มแผ่นเหล็ก หรือฉีดพลาสติกมายึด LNBF แทน Scalar Ring
|
|
|
scalar ring |
scalar ring with LNB | ก่อนที่เราจะมาดูกันว่า Scalar Ring ดูดซับคลื่นได้อย่างไร คงต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า บริเวณท้องฟ้า เหนือจุดที่เราติดตั้งจานดาวเทียมอยู่นั้นมิได้มีแต่เฉพาะดาวเทียมที่ทำหน้าที่ท่ายทอดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเท่านั้น แต่ยังมีดาวเทียมอื่นๆ เช่นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมสำรวจภูมิประเทศ ดาวเทียมวงโคจรต่ำสำหรับส่งสัญญาณ GPS และดาวเทียมเพื่อกิจการต่างๆ อีกมากมาย รวมถึงดาวเทียมจารกรรม หรือแม้สัญญาณจากดาวเทียมที่อยู่ข้างๆ ดวงที่เรากำลังรับสัญาณอีกด้วย สัญญาณจากดาวเทียมต่างๆเหล่านี้ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะมีความถี่ไม่ตรงกันกับความถี่ที่เราใช้อยู่แต่เนื่องจาก LNBF ที่เราใช้กันอยู่นั้นมีอัตราการขยายสัญญาณที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นหากมีสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์หลุดลอดเข้าไปในนำสัญาณของ LNBF ก็จะไปรบกวนสัญญาณหลักได้เช่นกัน มาดูกันว่าเพราะอะไรเจ้าตัว Scalar Ring จึงซับคลื่น(สัญญาณดาวเทียมที่ไม่พึงประสงค์)เอาไว้ ได้จากรูปที่ 5 จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของ Scalar Ring ซึ่งผลิตมาจากจากอะลูมิเนียมนั้น มีลักษณะเป็นวงแหวนเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ช่อง ว่างระหว่างผนังแต่ละชั้นก็คือบริเวณที่เตรียมเอาไว้สำหรับซับคลื่นนั้นเอง คลื่นที่ไม่พึงประสงค์ที่เราต้อง การให้ Scalar Ring ดูดซับเอาไว้เมื่อวิ่งเข้าไปชนก็จะสะท้อนไปมาในช่องว่างที่เตรียมไว้ ถึงจะหลุดรอดลงมาได้ก็จะไม่แรงพอที่จะรบกวนสัญญาณหลักที่เราต้องการรับ
รูปที่ 5 Scarlar Ring ดังนั้นหากเปลี่ยนจาก Scarlar Ring เป็นแผ่นเหล็กเรียบๆสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ก็จะสะท้อนกับแผ่นเหล็กลงมาที่ก้นจานแล้วสะท้อนกลับขึ้นไปเข้าสู้ LNBF ได้สัญญาณเหล่านี้อาจจะเข้าไปรบกวนสัญญาณหลัก ทำให้ภาพและเสียงเกิดสะดุด ส่วนในกรณีที่มีบางค่ายเข้าใจ ว่าการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำ Sarlar Ring ให้เป็นพลาสติกเสียเลยจะได้ไม่สะท้อนคลื่นที่ไม่พึงประสงค์กลับลงมาก็เป็นความเข้าใจผิดอีกเช่นกันทั้งนี้ รูปที่ 6 เปรียบเทีบมี-ไม่มี Scarlar Ring 1 ติดตั้ง LNB KU-Babd ตามตัวอย่างในรูป 2 ต่อสาย RG-6 จาก LNB C-Band เข้าที่ขั้ว LNB 1 ของ Diseqc SW 3 ต่อสาย RG-6จาก LNB C-Band เข้าที่ขั้ว LNB 2 ของ Diseqc SW 4 ต่อสาย RG-6 จากขั้ว Receiver ของ Diseqc SW ไปยังเครื่องดาวเทียม 5 ต่อสาย AV ของเครื่องรับดาวเทียม กับ TV เปิด TV และเครื่องรับดาวเทียม 6 เปลี่ยนช่องของเครื่องรับไปที่ NSS-6 กดปุ่ม Signal เพื่อดูความแรงสัญาณ 7 ปรับขายึด LNB KU-Band จนกระทั้งรับสัญญาณได้แรงสุด ดูที่แถบสัญญาณสีแดงปรับจนขึ้นสูงสุด 8 ขันสกรูยึดขาให้แน่น ปรับ Polarize และ Focus ของ LNB KU-Band จนรับสัญญาณขึ้นสูงสุด
รูปที่ 7 Thaicom 2-5 NSS-6 C-KU Duo เพราะว่าความถี่สูงมากๆ อย่างย่าน C และ KU-Band ที่เราใช้อยู่นั้น วัสดุพวกฉนวนต่างๆ อย่างเช่น พลาสติกเซรามิก คอนกรีต แก้วบางประเภทและอื่นๆ อีกมากมายล้วนแล้ว แต่สะท้อนคลื่นได้ทั้งสิ้น การใช้วัสดุ ที่ไม่ใช้โลหะนำมาทำ Scalar Ring แทนที่จะเกิดผลดีกลับส่งผลเสียตามมาทั้งในเรื่องความเปาะของวัสดุที่ใช้แล้วยังสะท้อนคลื่นที่ไม่พึงประสงค์ กลับลงมาอีกด้วย
จะรับ ASTV ทำอย่างไร สำหรับท่านที่ได้ลงมือติดตั้งจานดาวเทียมขนาด 5 ฟุต ของDynasat ไปแล้ว และต้องการรับรายการ ASTV ของคุณสนธิ ก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เตรียม LNBF KU-Band แบบ Universal +Diseqc Multi Switch แบบ 4 ออก 1 และเพลตรูปตัว T สำหรับยึด LNBF KU-Band และทำตามขั้นตอนในรูปที่ 7 ส่วนรายละเอียดของดาวเทียม NSS - 6 นั้นได้ถูกเซตอัฟมาในเครื่องเรียบร้อยแล้ว เรียกว่าต่อสายสัญญารให้ถูก ปรับให้รับสัญาณ ได้แรงก็เปิดรับชมรายการได้เลย |
ตอนที่ 6 (มาติดตั้งจานมูฟกันดีกว่า )
|
ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 400 ปี กาลิเลโอปราชญ์ชาวอิตาลีได้นัดบรรดานักปราชญ์และนักศึกษารวมทั้งผู้ที่สนใจทั้งหลายให้มาร่วมพิสูจน์ เพื่อหักล้างความเชื่อเดิมที่ว่าวัตถุที่หนักกว่าจะตกพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า โดยกาลิเลโอเชื่อว่า วัตถุถึงแม้จะมีน้ำหนักต่างกันแต่จะตกถึงพื้นพร้อมกัน เมื่อถึงวันนัดกาลิเลโอดไขึ้นไปที่ระเบียงยอดหอเอนที่เมืองปิซา แล้วทิ้งก้อนตะกั่วกลมที่มีน้ำหนัก 10 ปอนด์ และ 20 ปอนด์ลงมาพร้อมกัน ปรากฏว่าก้อนตะกั่วทั้ง 2 ตกลงมาถึงพื้นพร้อมๆ กัน แต่ก็ยังมีพวกไม่เห็นด้วยตะโกนถามว่าแล้วทำไมใบไม้ถึงตกถึงพื้นช้ากว่า เพราะมีแรงต้านทานจากอากาศคอยพยุงไว้ การทดลองในวันนั้นนับเป็นจุดเริ่มของทฤษฏีแรงโน้มถ่วงที่ค้นพบโดยเซอร์ไอแซค นิวตัน ที่เราใช้กันมาจน ถึงปัจจุบัน... |
สวัสดีครับ ท่านได้ทราบถึงหลักการในการตั้งจาน แบบ DUO, TRIO เพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียม 2 และ 3 ดวงด้วยจานดาวเทียมเพียงใบเดียว จากบทความในตอนที่ผ่านมาแล้ว ในฉบับนี้เราจะมาตั้งจานแบบมูฟ (MOVE) เพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมหลายๆ ดวงกันดูบ้าง"คอจานแบบมูฟจะมีแกนหมุน 1 แกนเพื่อกวาดหน้าจานดาวเทียมไปยังดาวเทียมดวงต่างๆ แกนหมุนนี้เรียกว่าแกนโพล่าร์ คอจานชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า โพล่าร์เม๊าท์"ดูจากรูปที่ 3 จานมูฟ ท่านคงเห็นถึงความแตกต่างไปจากจานแบบฟิกซ์ที่ชัดเจนก็คือ มีมอเตอร์ขับจานติดตั้งอยู่ที่คอจาน และคอจานเองก็มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างออกไปจากคอจานแบบฟิกซ์ด้วยเช่นกัน โดยคอจานแบบมูฟนี้จะมีแกนหมุน 1 แกน สำหรับกวาดหน้าจานดาวเทียมไปยังดาวเทียมดวง ต่างๆแกนหมุนนี้เรียกว่าแกนโพล่าร์ (Polar) คอจานชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า โพล่าร์เม๊าท์ (Polar Mount) หากยังจำกันได้ในกรณีของจานแบบฟิกซ์ เมื่อท่านต้องการปรับหน้าจานไปรับดาวเทียมดวงอื่นๆ ท่านจะต้องปรับมุม ก้ม-มุมส่าย-มุมโพลาไรซ์ของ LNBF ให้ตรงกับตำแหน่งของดาวเทียมที่ต้องการรับ จึงจะรับสัญญาณได้ แต่สำหรับจานมูฟแล้ว ด้วยคอจานแบบโพล่าเม๊าท์ หลังจากติดตั้งและปรับหน้าจานได้ถูกต้องแล้ว การมูฟหน้าจานเพื่อหันไป รับสัญญาณจากดาวเทียมดวงอื่นๆ ทำแค่เพียงปรับแกนหมุน Polar เพียงแกนเดียวเท่านั้นก็จะรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงต่างๆ ได้โดยไม่ต้องมาปรับมุมส่ายหรือมุมโพล่าไรซ์ที่ LNBF อีกเลย |
แต่ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องของหลักการพื้นฐานกันก่อนนะครับ ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อที่ผิดๆที่ได้รับถ่ายทอดมาจากคายอื่นนั้น นอกจากจะทำให้เสียเวลาในการปรับแล้ว ยังทำให้รับสัญญาณได้ไม่ครบ นอกจากนี้ยังทำให้ท่านแก้ปัญหาไม่ตกอีกด้วย หากท่านเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายไดน่าแซทหรือเคยเข้าอบรมติดตั้งจานมูฟจากไดน่าแซทท่านจะทราบดีว่าการติดตั้งจานมูฟให้รับสัญญาณได้ครบและได้แรงนั้นจำเป็นจะต้องปรับมุมชดเชยด้วยเสมอ เรายืนยันมาเช่นนี้มาตลอด 15 ปี! แต่ค่ายอื่นกลับบอกว่าไม่ต้องปรับมุมชดเชย เพราะมุมชดเชยมีไว้สำหรับปรับแก้ในกรณีที่ตั้งเสาเอียงหรือพื้นเอียงแถมยังสำทับอีกว่า ที่จานของบางบริษัท (คงหมายถึงจานของไดน่าแซท) ต้องปรับมุมชดเชยก็เพราะจานและคอจานที่ผลิตมาแต่ละชุดนั้นไม่ได้มาตรฐานเลยต้องปรับมุมชดเชย ว่าเข้าไปนั่น! มาดูกันครับว่าจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร เริ่มจากความเชื่อที่ว่า "เสาเอียงจะทำให้ปรับจานมูฟไม่ได้ครบ" ย้อนกลับไปตอนที่ 2 (ฉบับที่ 128 )ท่านได้ทราบแล้วว่าการติดตั้งจานดาวเทียมนั้น ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพยายาม ตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆ ทุกด้าน แต่ความเชื่อจากค่ายอื่นก็ยังแย้งว่า จานฟิกซ์มันหมูถึงเสาเอียงก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นจานมูฟแล้ว เสาเอียงจะทำให้ปรับจานมูฟดาวเทียมไม่ได้ครบแน่ๆ ดูจากรูปที่ 6 จะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า ไม่ว่าเสาตั้งจานจะเอียงไปในทิศทางใดก็ตาม ไม่ได้มีผลต่อมุมต่างๆที่ปรับจานเลย ในทางกลับกันหากท่านมีความเชื่อแบบเก่าๆ แล้ว เมื่อรับสัญญาณไม่ได้แรงหรือไม่ได้ครบทุกดวงถึงจะเสียเวลาตั้งเสาให้ได้ฉากทุกด้านก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะแก้ไม่ถูกจุดแบบรู้ไม่จริงกลับจะยิ่งเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ |
แสดงให้เห็นถึงเสาที่เอียงในมุมต่างๆ ทานจะพบว่า ไม่ว่าเสาจะเอียงไปในมุมเท่าใดหรือทิศทางใดก็ตามมุมชดเชยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย รวมทั้งมุมก้ม-เงย ก็ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้นคำกล่าวอ้างที่ว่า "มุมชดเชยมีไว้สำหรับปรับแก้ ในกรณีที่ตั้งเสาเอียงหรือพื้นเอียง" จึงไม่เป็นความจริง
บางท่านดูจากรูป แล้วอาจจะบอกว่ามุมชดเชยไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มุมก้ม-เงยต่างกันนี่นา แต่ลองสังเกตดูอีกทีจะพบว่า ทั้งมุมชดเชยและมุมก้ม-เงยนั้นยังอยู่ในตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ เพราะเราวัดมุมก้ม-เงย และมุมชดเชยด้วยตัววัดมุมซึ่งวัดมุมเทียบกับแรงดึงดูดของโลกนะครับไม่ได้วัดเทียบ กับเสา หวังว่าหลายท่านคงยังจำกันได้ (อ่านรายละเอียดการใช้ตัววัดมุมได้จากบทความตอนที่ 2 ฉบับที่ 128) เมื่อถึงตอนนี้ก็เกิดคำถามว่า แล้วมุมชดเชยนั้นมีไว้ปรับเพื่ออะไรกันแน่! ก็คงต้องทบทวนกันอีกครั้งว่า ดาวเทียมที่ส่งรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมให้เราได้รับชมกันนั้นมีวงโคจรที่ลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรดังรูปที่ 8 และเนื่องจากอณาเขตของประเทศไทยนั้นอยู่ถัดจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือเมื่อท่านจะหันมองวงโคจรของดาวเทียม จึงต้องยืนหันหน้าไปทางทิศใต้ แล้วลองจินตนาการดูว่าวงโคจรของดาวเทียมเปรียบเสมือนรุ้งกินน้ำตัวใหญ่มากๆ พาด จากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก จากนั้นลองกางแขนออก ให้ขนานกับพื้นแล้วเบี่ยงแขนของท่านเข้าไปหาปลายของเจ้ารุ้งกินน้ำตัวใหญ่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกสาเหตุที่ต้องเบี่ยงแขนเข้าไปหาก็เพราะว่าเจ้ารุ้งกินน้ำตัวใหญ่ในจินตนาการของเรานั้นไม่ได้เกิดเหนือตัวท่าน แต่เกิดขึ้นด้านหน้าของท่านถัดไปทางทิศใต้ ซึ่งมุมแขนที่เบี่ยงไปในจินตนาการของท่านนั้นก็คือมุมชดเชยนั่นเอง
|
คราวนี้เรามาดูรูปคอจานของจริงเปรียบเทียบกับจินตนาการเมื่อสักครู่ท่านจะเข้าใจได้โดยทันที ซึ่งพอจะสรุปให้เข้าใจได้ว่า มุมชดเชยนั้นมีไว้สำหรับ ปรับชดเชยให้เอียงไปรับสัญญาณดาวเทียมได้ครบทุกดวงนั่นเอง แต่ในทางกลับกันหากไม่มีการปรับมุมชดเชยให้เอียงเข้าไปหาวงโคจรของดาวเทียมแล้ว ผลที่ตามมาก็คือ ท่านจะรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงที่อยู่ปลายๆไม่ได้ หรือเรียกว่ารับได้ไม่ครบนั่นเองดังนั้นเหตุผลที่กล่าวว่า "มุมชดเชย มีไว้สำหรับปรับแก้ในกรณีที่ตั้งเสาเอียงหรือพื้นเอียง และจานที่จานของ บางบริษัท (คงหมายถึงจานของไดน่าแซท) ต้องปรับมุมชดเชยก็เพราะจานและคอจานที่ผลิตมาไม่ได้มาตรฐานเลยต้องปรับมุมชดเชย "จึงเป็นเหตุผลที่มั่วสุดๆ นอกจากนี้ในกรณีที่ช่างปรับจานรับสัญญาณได้ ไม่แรงพอหรือปรับจานมูฟรับสัญญาณได้ไม่กี่ดวงก็จะได้รับคำแนะนำจากศูนย์สุดมั่วว่ายังตั้งเสาไม่ได้ฉากให้กลับไปต้งใหม่เป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออกเลยจริงๆ ครับ | เมื่อเข้าใจตรงกันแล้วว่ามุมชดเชยมีไว้ปรับเพื่อะไร ผู้เขียนก็ได้เตรียมแผนที่และคามุมสำหรับปรับมุมก้มและมุมชดเชยในภูมิภาคต่างๆ มาฝาก การปรับมุมต่างๆ นั้นก็มีหลักการคล้ายๆ กันกับการปรับจานฟิกซ์ แต่จะต่างกันตรงที่ว่า การปรับจานมูฟนั้นเราดูพื้นที่ติดตั้งจากแผนที่แล้วนำค่า Latitude หรือเส้นรุ้งไปเทียบมุมจุด A และจุด B จากนั้นนำค่ามุมที่อ่านได้จากตารางนำไปปรับได้เลย ไม่ต้องใช้เครื่องรับดาวเทียมเป็นเครื่องคำนวณ และจาการทดสอบภาคสนามในหลายๆ จังหวัดพบว่าในตารางที่ผู้เขียนคำนวณและทำเป็นตารางไว้ให้นั้นมีความแม่นยำมาก จนแทบจะพูดได้ว่าหากตั้งค่ามุมได้เสร็จก็รับสัญญาณ C-Band ได้ครบทุกดวงเลย จะมีต้องปรับละเอียดอยู่บ้างก็เป็นสัญญาณ KU-Band จากดาวเทียมที่สัญญาณอ่อนๆ เท่านั้น ส่วน KU-Band ที่แรงรับได้สบายมากครับ |
ตอนที่ 7 (มาติดตั้งจานมูฟกันดีกว่า) เมื่อทราบหลักการของจานมูฟและสาเหตุที่ต้องปรับมุมชดเชยไปแล้ว คราวนี้ถึงเวลาของการประกอบและปรับแต่งในภาคสนามจริงกันแล้ว.. ซึ่งวิธีการประกอบติดตั้ง ตลอดจนการปรับแต่งนั้นยังถือว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ยุ่งยาก ใครที่เป็นคนกลัวความล้มเหลวขอให้สบายใจได้.. ผลงานของท่านจะสำเร็จให้ชื่นชมแน่นอน!! มีทฤษฎีทางด้านจิตวิตวิทยาที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เขียนมักหยิบ ยกมาเล่าให้ผู้เข้าร่วม สันนนาการติดตั้งจานดาวเทียม Dynasat ฟังอยุ่เสมอว่า อุปสรรคที่ทำให้มนุษย์ เราใม่ประสบความสำเร็จนั้นมีสาเหตุอันเนื่องมาจากความกลัว 3 ประการ
ความกลัวประการแรก คือ กลัวที่จะต้องเสียเวลามาศึกษาสิ่งใหม่ๆข้อนี้ในสิ่งแวดวงดาวเทียมจะเจอกันอยู่เสมอตัวอย่างที่เห็น ได้ชัดเจนคือช่างในร้านจำหน่ายจานดาวเเทียมต่างๆ มักจะจะไม่อยากทดลองเปรียบเทียบสินค้าใหม่ๆ ค้วยเหตุที่มีความถนัดในรุ่นเดิมหรือคุ้นเคยกับยี่ห่อเดิมๆ อยู่แล้วสินค่าที่ตัวเองจำหน่ายอยู่สุดยอดแล้วขี้เกรียคที่จะต้องมาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หลายๆครั้งเลยพลาดโอกาศ ไม่ได้นำสินค้าที่ดีกว่ามาจำหน่าย หรือไม่ได้ปรับเปลี่ยนเอาวิธีที่ดีกว่ามามใช้
ความกลัวประการที่สอง คือ กลัวความล้มเหลวหลายคนที่มีความพยายามมากพอที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แต่กลับไปนำมาใช้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือทำต่อให้สำเร็จก็เพราะกลัวว่าหากทำไปแล้วจะไม่ได้ผล หรือ กลัวว่าจะว่าจะทำได้ไม่ดีเลยล้มเลิกไม่ยอมทำต่อ ข้อนี้ก็มีอย่างให้อยู่ทั่วไป
ส่วนความกลัวประการสุดท้าย แทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์ เรากลัวประความสำเร็จ เพราะมัวแต่คิดว่าที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็ฌดีอยู่แล้ว เคยใส่เสื้อยืด กางเกงยีน รองเท้าแตะ ก็สบายดีนี่ ถ้าเหากประสบความสำเร็จมากกว่านี้กลัวจะตัวไม่ถูก เดี๋ยวชีวิตจะยุ่งอยากกว่าที่เป็นอยู่ เลยไม่มุมานะที่จะต้องทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จก็คงต้องย้อนกลับมามองที่ตัวท่านแล้วว่า ความกลัวทั้ง 3 ข้อนี้มีอยู่ในตัวท่านหรือไม่.....จากบทความในตอนที่ผ่านมา ท่านได้ทราบหลักการทำงานของมูฟ รวมถึงสาเหตุที่ต้องทำการปรับมุมชดเชยทั้งนีก้เพื่อให้หน้าจานเบี่ยงหรือเอียงไปรับสัญาณจากดาวเทียมดวงที่อยู่ริมๆ ได้แรงที่สุด ทำให้สัญาณได้ครบครบยทุกดวงนั้นเอง โดยที่มุมชดเชยมิได้มีไว้เพื่อปรับแก้ปัญหาเสาเอียง หรือไม่ได้มีไว้ปรับแก้ในกรณีที่คอจานผลิตมาไม่ได้มาตรฐาน แต่ประการใด ในทางตรงข้ามการปรับหน้าจานมูฟให้รับสัญาณได้แรงทุกดวง นั้นจำเป็นจะต้องปรับมุมชดเชยให้ถูกต้องด้วยเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ติดตั้งที่อยู่เหนือหรือต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตรมากๆ จะยิ่งเห็นผลของการปรับมุมชดเชยได้อย่างชัดเจน
รูปที่ 2 เครื่องรับดาวเทียม ในฉบับนี้ เราจะมาลงมือประกอบและปรับหน้าจานกัน แต่ก่อนอื่นมท่านต้องหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งจานด้วย รวมทั้งควรติดตั้งเสาอย่างมืออาชีพซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้หาอ่านได้จากบทความตอนที่2 ในฉบับที่ 18 จาน 6 ฟุต กำลังพอเหมาะ เกนการรับสูงพอ
สำหรับจานมูฟที่เราจะทดลองประกอบและปรับกันนั้นผูเขียนเลือกใช้ จานดาวเทียม Dynasat แบบโปร่งขนาด 6 ฟุต ซึ่งมีขนาดเล็กกำลังเหมาะและมีเกนการรับที่สูงที่สำคัญคือ รองรับสัญาณได้ทั้งระบบ C และ KU Bead ซึ่งเป็นจานอีกรุ่นหนึ่งที่เป็นที่นิยมและส่งออกไปจำหน่ายหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งจาน Dynasat ยังได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย Thailand `s Brand ยังถูกจากกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพานิชณ์ อีกด้วย ส่วนขั้นตอนในการประกอบจานก็ยังยุ่งยาก ดูจากคู่มือที่ให้มากับชุดจานได้เลย จุดที่เน้นคือการประกอบแล้วลอยต่อทุกจุดจะต้องเนียนเสมอกัน เพื่อโค้งหรือ Curve ของหน้าจานจะได้เสมบูรณ์การสะท้อนสัญญาณก็จะมีความถูกต้องแม้นยำมากขึ้น ซึ่งนั้นนั้นก็หมายถึงเกนการรับสัญญาณที่สูงขึ้นด้วย
ติดตั้ง LNBF เมื่อประกอบชุดจานดาวเทียมแบบมูฟขาด 6 ฟุต เสร็จเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปเราจะมาติดตั้ง LNBF ซึ่งมีรายระเอียดดังรูปที่ 4 สำหรับจานมูฟนั้น มุม Polarize จะทำการปรับโดยสังเกตให้เส้นตรงเลข 0 อยู่ขนานกับพื้นหรืออยู่ในแนวเดียวกัน กับทิศตะวันออก-ตะวันตกนั่นเอง ส่วนระยะโฟกัสก็ปรับให้ขีดที่ตรงกับเลข .38 อยู่ตรงกับขอบของ Scalar Ring ตามรูปทั้งนี้เนื่องจากจาน Dynasat ขนาด 6 ฟุตที่เราเลือกใช้มี F/D ratio(อัตราส่วนระหว่างโฟกัสและเส้นผ่าศูนย์กลาง)อยู่ 0.38
การปรับจานมูฟแบบง่ายๆ ในการติดตั่งและปรับจานมูฟหากรู้หลักการที่ถูกต้องนอกจากจะให้ช่วยใช้เวลาในการปรับน้อยลงแล้ว ยังช่วยให้รับสัญญาณจากดาวเทียมดะวงต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการปรับจานดาวเทียมมูฟตามแบบฉบับของ Dynasat มีขั้นตอนในการปรับง่ายๆดังนี้
1) ใช้ตัววัดมุมชดเชยและมุมก้มเงยโดยดูค่ามุมจากแผน (อ่านนรายระเอียดได้จากตอนที่ผ่านมา) จากนั้นตั้งหน้าจานให้หันไปทางทิใต้จริง(รูปที่ 5 และรูปที่ 6 )
2) ต่อสายสัญญาณ LNBF ไปยังเครื่องรับ เปิดเครื่องรับโทรศัพน์เพื่อทดลองรับสัญญาณจริง จากนั้นทดลองปรับหน้าจานไปรับสัญญาณจากดาวเทียมจริง จากนั้นลองปรับหน้าจานไปรับสัญญาณจากดาวเทียมที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดและตะวันตกสุด (ยังไม่ต้องติดมอเตอร์ขับจาน) ในขั้นตอนนี้ปรับมุมชดเชยและมุมส่าย(หาทิใต้จริง)อย่างละเอียด เพื่อให้รับสัญญาณจากดาวเทียมที่อยู่มุมริมสุดทั้งสองด้านให้แรงที่สุด
3) ปรับหน้าจานไปรับสัญญษณจากดาวเทียมที่อยู่ประมาณกึ่งกลางท้องฟ้าถ้าเป็นกรุงเทพฯ จะใช้ดาวเทียม รูปที่ 5 ปรับมุมชดเชยและมุมก้มเงยตามค่าที่อ่านได้จากแผนที่ รูปที่6 หันหน้าจานไปทางทิศใต้จริง รูปที่7 ปรับหาสัญญาณเบื้องต้น(ยังไม่ต้องติดมอเตอร์ขับจาน) รูปที่8 มอเตอร์ขับจาน(Actuatro) รูปที่9 การทำงานของมอเตอร์ขับจาน รูปที่10 การต่อสายมอเตอร์ขับบจาน AsiaSAT-2 หากเป็นภาคอีสาน อาจเลือกรับสัญญาณจากดาวเทียม AsiaSAT-3S ปรับมุมก้มเงยอย่างละเอียดให้รับสัญญาณได้แรงที่สุด
4) ทดลองหันจานไปรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงต่างๆ ทุกดวงหากยังรับสัญญาณได้ไม่แรงที่สุด ลองย้อนไปปรับตามขั้นตอนที่ 2 และ3 อีกครั้ง โดยปกติแล้วหากท่านตั้งค่ามุมชดเชยและมุมก้มเงยที่อ่านจากแผนที่ได้อย่างถูกต้องท่านจะรับสัญญาณ C และ KU-Band จากดาวเทียมได้ครบทุกดวงยกเว้นสัญญาณ KU-Band ที่อ่อนๆจากดาวเทียมบางดวง ซึ่งจำเป็นต้องปรับมุมชดเชยและมุมก้มเงยอย่างละเอียดเพื่อให้รับสัญญาณได้แรงที่สุด****** การติดตั้งมอเตอร์ เมื่อปรับหน้าจาน ให้รับสัญญาณได้จนครบทุกดวงแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราจะติดตั้งมอเตอร์ขับจานหรือที่เรียกกันว่า Actuator(แอ็คจูเอเตอร์) ซึ่งเจ้ามอเตอร์นี้จะทำงานโดยการยึด-หดก้านชัก ซึ่งจะทำจานให้หน้าจานมีการเคลื่อนที่ได้ ดังรูปที่9 ส่วนใหญ่แล้วเรายึดปลายของ Actuator เข้ากลับคอจานฝั่งตะวันออก ทั่งนี้เนื่องจากฝั่งตะวันออกระดับสัญญาณจากจานดาวเทียมได้จำนวนได้กว่าฝั่งตะวันตก ส่วนการต่อสายควบคุมมอเตอร์ ดูรายละเอียดได้จาก
ดังรูปที่10 สำหรับการทำงานของมอเตอร์ ขับจานโดยละเอียดขอยกไปอธิบายแบบเจาะลึกในฉบับหน้า |
ตอนที่8เคล็ดลับในการติดตั้งจานมูฟแบบมืออาชีพ การตั้งลิมิตนั้นตั้งได้สองระบบ คือฮาร์ดแวร์ลิมิตซึ่งต้องตั้งที่ลิมิตสวิตช์ภายในตัวมอเตอร์ขับจาน ส่วนซอฟต์แวร์ลิมิตนั้นตั้งที่เครื่องรับดาวเทียม หากถามว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากัน ก็คงจะตอบได้ว่าฮาร์ดแวร์ ลิมิตนั้นสำคัญที่สุด เพราะเป็นการป้องกันไม่ให้หน้าจานเคลื่อนไป ชนสิ่งกรีดขวางจนหน้าจานพัง หรือเคลือนออกไปจนชุดบอลสกรูของมอเตอร์ขับจานหลุดออกมา แต่ซอฟแวร์ลิมิตก็มีความสำคัญไม่น้อยเพราะหากเข้าใจหลักการตั้งลิมิตทั้งสองแล้ว ก็จะแก้ปัญหาเรื่องตำแหน่งเลื่อนไดอย่างหายขาด
สวัสดีครับ จากบทความ 2 ตอนที่ผ่านมาน่าจะทำให้ท่านได้เข้าใจถึงการทำงาน และทราบรารละเอียดการติดตั้งจานมูฟแบบมืออาชีพนั้นมีรายละเอียดและเคล็ดลับในการปรับแต่งอยู่พอสมควรทีเดียวอีกทั้งอุปกรณ์ใช้ในการติดตั้ง ก็ต้องทำการปรับแต่งวีธีด้วย เป็นที่ร่ำลือกันในหมู่ช่างติดตั้งว่า การติดตั้งจานมูฟให้รับสัญญาณได้ครบและแรงถือว่ายากพอสมควรทีเดียว ช่างหลายคนถึงกลับเข็ดหยาดไม่อยากติดให้ลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้วการติดตั้งจานมูฟหากเข้าใจหลักการทำงานเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี และใช้เครื่องมือในการปรับแต่งถูกวิธี การติดตั้งจานมูฟก็ไม่ใช้เรื่องที่ยากเกินกำลังความสามารถของท่านนอกจากนี้การติดตั้งจานมูฟยังสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับช่างติดตั้งอีกด้วย ที่สำคัญการแข่งขันด้านราคายังไม่รุ่แรงเหมือนจานฟิกซ์ และคงจะดีไม่น้อยหากเราทำเรื่องที่ช่างคนอื่นๆคิดว่ายากได้ยากสบายๆ
หลักสำคัญในการติดตั้งจานมูฟ การติดตั้งจานมูฟของค่อยอื่นๆ ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอกันก็คือติดตั้งแล้วรับสัญญาณได้ไม่ครบ หรือแต่สัญญาณไม่แรงพอ และปัญหาชวนปวดหัวก็คือ มูฟไม่มูฟมาหลายๆรอบแล้วตำแหน่งที่เซ็ตไว้คลาดเคลื่อน พอใช้ไปนานก็รับสัญาณไม่ได้เพราะที่เซ็ตไว้คลาดเคลื่อนไปหมด ในที่เราจะ มาเจาะลึกว่าปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกิดจากอะไรและจะมีทางแก้ไขได้อย่างไร
การเลือกใช้ตัวมุมที่เหมาะสมที่เหมาะสมมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะตัววัดมุมแบบที่ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ตามรูปมีความแม่นยำกว่าแบบอื่นๆ มาก เนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับงานที่ต้องความละเอียดสูงแตกต่างจากรุ่นราคาถูกที่มีขายตามร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ตัววัดมุมเหล่านั้นมีค่าผิดพลาด(Erroe)ค่อนข้างสูง เนื่องจากเอาไปใช้วัดงานก็สร้างทั่วไป ลองดูเล่นๆสมมุติว่าค่าที่อ่านได้ผิดพลาดไป 1 องศา (หมายว่ามุมก้ม-เงยผิดพลาดไป 1องศา มุมชด เชยพลาดไป 1 องศา) อาจทำให้สัญญาณไม่เจอเลย กว่าจะหาสัญญาณได้ครบและแรงก็ต้องลองปรับมุมชดเชยและมุมก้ม-เงยกลับไปมา ทำให้เสียเวลาอย่างมาก ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธีจะทำให้ท่านประหยัดเวลาลงไปได้มากทีเดียว และต้องอย่าลืมว่าในการติดตั้งและปรับจานนั้น ท่านต้องทำกลางแจ้ง โดยเฉพาะวันที่แดดจัดคงไม่ใช่เรื่องสนุกนักที่จะมาเสียเวลาที่ไม่ใช่เหตุ ปัญหาที่ทำให้ตำแหน่งดาวเทียมเคลื่อน ปัญหาหลักๆตำแหน่งเลื่อนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องรับดาวเทียมแบบที่มีโพซิชั่นเนอร์(Positioner) หรือตัวควบคุมมอเตอร์ขับจานในตัว มักถูกออกแบบให้ใช้CPUร่วมกันกับเครื่องรับ โดยปกติแล้ว CPU ในเครื่องรับดาวเทียมมีหน้าที่หลักๆ ที่จะต้องควบคุมการทำงานวงจรในส่วนต่างๆของเครื่องรับ นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลที่รับเข้ามาให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง และยังต้องทำหน้าที่แสดงข้อมูลต่างๆ บนหน้าจอทีวีอีกด้วย สำหรับเครื่องรับแบบที่มีโพซิชั่นเนอร์ในตัว CPU ต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้นคือต้องสั่งการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ให้หมุนไปทางซ้ายหรือขวา และยังต้องนับพัลซ์ที่ถูกส่งมาจากมอเตอร์ขับจานอีกด้วยเพื่อตรวจสอบกับข้อมูลในหน่วยความจำว่าถึงตำแหน่งที่มอเตอร์จะต้องหยุดหมุนรือยัง
ดังนั้นเมื่อCPU ทำงานนับพัลซ์ไม่ทันทำให้หยุดไม่ตรงตำแหน่ง เช่นเลื่อนไปครั้งละ 1-2 สเต็ปการเลื่อนไป1-2 สเต็ส สำหรับดาวเทียมที่มีสัญญาณแรงปกติ จะไม่มีผลกระทบต่อการรับสัญญาณเลย แต่เมื่อมีการสั่งมูฟไปยังดาวเทียมดวงต่างๆมากขึ้น ตำแหน่งจานก็จะเลื่อนสะสมมากขึ้นเช่นกัน จำในที่สุดก็รับสัญญาณไม่ได้เลย กลายเป็นภาระของช่างติดตั้งจะต้องเข้าไปบริการลูกค้า นอกจากนั้นบ้างครั้ง CPU ทำงานไม่ทันจนเกิดการรวน หรือที่เรียกว่า CPU แฮ็งค์ก็อาจทำให้โปรแกรมช่องต่างๆที่โปรแกรมไว้หายเกลี้ยงเลยก็มี แต่สำหรับเครื่อง Dynasat ที่มีโพซิชั่นเนอร์ (Positioner) อยู่ในเครื่องรับนั้นถูกออกแบบให้มี CPU ไมโครคอนโทรลเลอร์(Micro Controller) แยกออกมาควบคุมมอเตอร์ขับจานโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันการทำงานผิดพลาดรวมถึงในกรณีที่ระหว่างมูฟจานแล้วเกิดไฟดับหรือปลั๊กหลุด ก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาตำแหน่งเลื่อนหรือไม่จำตำแหน่งใดๆทั้งสิ้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่าติดตั้ง ไปแล้วไม่ต้องกลับไปเซอร์วิสบ่อยๆ วงจรโพซิชั่นเนอร์(Positioner) นี้ ที่ออกแบบโดยกลุ่มวิศวกรของ Dynasat ซึ่งตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่อนมา Dynasat ได้มีส่วนร่วมออกแบบ และแก้ไขปัญหาวงจรโพซิชั่นเนอร์ให้กับโรงงานผู้ผลิตในไต้หวันและเกาหลี จนเป็นที่ทราบดีกันกลุ่มโรงงานผู้ผลิตเครื่องรับดาวเทียมว่า หากมีผลัตภัณฑ์ใหม่ออกมาจะต้องส่งมาให้ Dynasat ทดสอบและช่วยแนะนำว่าควรจะต้องแก้ไขอะไรอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ช่างติดตั้งว่า นอกจากนี้ Dynasat ยังเป็นที่สุดยอดของจานมูฟอีกด้วย การทำงานของมอเตอร์ขับจาน(actuaator) การทำงานของมอเตอร์ขับจานนั้นหากแบ่งตามลักษณะของการทำงานแล้วจะแบ่งออกเป็นได้สองส่วนคือส่วนที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่และส่วนของการส่งข้อมูลกลับ(Pulse feed back)แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่นั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเครื่องผ่านระบบเฟืองทดรอบเพื่อเพิ่มแรง และใช้ระบบบอลสกรู(Ball screw)เป็นตัวขับก้านชักแรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ขับจานนั้นจะอยู่ในช่วง 24-36 โวตต์ ส่วนการส่งข้อมูลกลับไปยังชุดควบคุม หรือที่เรียก ว่าตัวโพซิชั่นเนอร์(Positioner) มีควานจำเป็นอย่างมากเพราะจะเป็นข้อมูลที่จะบอกว่าก้านชักของมอเตอร์ขับจานนั้นไปที่มาก-น้อยแค่ไหนแล้ว สัญญาณหรือข้อมูลที่ป้อนกลับไปยังตัวโพซิชั่นเนอร์(Positioner)มีลักษณะเป็นสัญญาณ Pulse ซึ่งมีหลักการทำงานโดยอาศัยสนามแม่เหล็กตัดกับหรีดเซ็นเซอร์(Reed sensor) หรือสวิตช์แม่เหล็กที่ใช้สำหรับติดตามขอบปะตู-หน้าต่างในระบบกันขโมย แต่ยังมีความเข้าใจผิดจากผู้จำหน่ายจานดาวเทียมหลายๆค่ายที่ชุดมูฟมักเกิดปัญหาเรื่องตำแหน่งเลื่อนประจำโดยเข้าใจว่าที่ตำแหน่งเลื่อนประจำโดยเข้าใจว่าที่ตำแหน่งเลื่อนบ่อยๆนั้นเป็นเพราะขั้วของหรีดเซ็นเซอร์ไม่แน่นจึงแนะนำช่างติดตั้งให้ทำการบักกรี โดยหารู้ ไม่ว่ากลับยิ่งทำให้เกิดปัญหาหนักขึ้นเพราะนี้เพราะหรีดเซ็นเซอร์ทำงานโดยอาศัยหลักการสรนามแม่เหล็ก โดนใช้โครงสร้างของหรีดเซ็นเซอร์จะประกอบด้วยการของคอนแทกต์ที่เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ เมื่อมีสนามแม่เหล็กเข้ามาใกล้แรงของสนามแม่เหล็กจะพยายามทำให้หน้าคอนแท็กต์ทั้งสองติดกัน การยึดติดเซ็นเซอร์นั้นจะใช้ช๊อกเก็ต(Sockec)เป็นตัวยึดขาหรีดเซ็นเซอร์แทนตัวบัดกรีด้วยเหตุผลที่ว่า หากเราทบทวนคุณสมบัติของแม่เหล็ก จากข้อเท็จจริงในการทำราย
สนามแม่เหล็ก ซึ่งทำได้ 3 วิธี 1.สนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กถาวรจะถูกทำลายได้ โดยการป้อนสนามแม่เหล็กที่แรงกว่าและมีสลับขั้วอย่างรวดเร็ว อธิบายได้ง่ายๆคือการเอาขดรวดไฟฟ้ามาพันแท่งแม่เหล็กถาวรแล้วป้อนไฟ AC (กระแสลับ)ลหังจากนั้นสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กจะอ่อนแรงลง 2.โดยการทุบแทงแม่เหล็กอย่างรุนแรง เนื่องจากแม่เหล็กได้รับการทุบอย่างรุนแรง โมเรกุลพายในแท่งแม่เหล็กจะมีการสะเทือนสลับกันไปมาทำให้สนามแม่มีการหักล้างกันพายในระหว่างโมเรกุลความแรงของสนามแม่เหล็กจึงลดลง 3.โดยการให้ความร้อน เมื่อให้ความร้อนกับแท่งแม่เหล็ก ความร้อนจะทำให้โมเลกุลพายในแท่งแม่เหล็กเกิดการเคลื่อนที่ทำให้สนามแม่เหล็กเกิดการหักล้างกันพายในระหว่างโมเลกุล เช่นเดียวกับการทุบ ความแรงของสนามแม่เหล็กจึงลดลงเช่นกันหากพิจรณาจากคุณสมบัติข้างต้น จะเห็นว่าบัดกีที่ขั้วของหรีดเซ็นเซอร์ เป็นการป้องกันความร้อนเข้าไปโดยตรง อีกทั้งที่ก้านคอนแท็คที่เคลือบสารแม่เหล็กมีขนาดเล็กมาก ความร้อนจะเกิดบัดกรีจึงไม่สามารถถ่ายเทออกไปได้ ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือสนามแม่เหล็กที่ก้านคอนแท็คจะมีความแรงลดลง การบัดกรีที่ขาของหรีดเซ็นเซอร์จึงเป็นการลดอายุการใช้งานของหรีดเซ็นเซอร์ลง เมื่อใช้งานไปได้ไม่นานก็เกิดอาการดูดบ้างไม่ติดบ้างทำให้ปัญหาเลื่อนรุนแรงยิ่งขึ้น การติดตั้งมอเตอร์ขับจาน (Actuator)นั้นมีจุดที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษอีกจุดหนึ่งคือลิมิต(Limit)หรือจุดสิ้นสุดการตั้งลิมิตนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้จานเคลื่อนที่เลยออกไปชนกับสิ่งกรีดขวาง เช่นรั้ว ต้นไม่หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้ๆจานรวมทั้งป้องกันไม่ให้ก้านของมอเตอร์ขับจานยื่นเลยออกไปจนหลุดการตั้งลิมิตนั้นตั้งได้สองระบบ คือฮาร์ดแวร์ลิมิต(Hardware Lmit)ซึ่งเราจะทำการตั้งลิมิตสวิทช์ภายในตัวมอเตอร์ขับจาน ส่วนซอฟแวร์ลิมิต(Software Limit)นั้นเราจะทำการตั้งที่เครื่องรับจานดาวเทียม(เพื่อความสะดวกส่วนใหญ่วิศวกรจะเรียกกันสั้นๆว่า ฮาร์ดลิมิต Hard-Limit และซอฟต์ลิมิต(Soft-Limit)หากถามว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากันก็คงจะตอบได้ว่า ฮาร์ดแวร์ลิมิตสำคัญที่สุดเพราะเป็นด่านสุดท้ายที่ต้องป้องกันไม่ให้หน้าจานนั้นไปชนสิ่งกีดขว้างจนหน้าจานพังหรือเครื่องออกไปเกิดจนชุดบอลสกรูของมอเตอร์ขับจานหลุดออกมา แต่ซอฟแวร์ลิมิตทั้งสองแล้วก็จะแก้ปัญหาเรื่องตำแหน่งเลื่อยได้อย่างหายขาด แต่การตั้งลิมิตนั้น ก็มีเคล็ดลับในการตั้งเช่นกัน ซึ่งจะขออธิบายพร้อมวงจรการทำงานของโพซิชั่นเนอร์อย่างง่ายๆในตอนจ่อไป |
เทคนิคการติดตั้ง สายอากาศภาคสนาม
การติดตั้งสายอากาศหาสัญญาณอ่อน...ยอมเกิดปัญหาแต่ในบางคราวสัญญาณแรงๆ
นี้แหละที่ทำให้การรับสัญญาณมีปัญหาได้เช่นกัน หากเป็นเช่นนี้จะแกไขปัญหาได้อย่างไร
"จากช่างถึงช่างมีคำตอบ"
สวัสดีครับ แฟนๆ ทั้งหลาย พบกันอีกครั้งแล้วนะครับหลังจากหายไปนาน ได้มีแฟนๆโทรไปถามเป็นจำนวนมากกว่าหายไปไหน ก็ขอตอบแบบตรงๆว่าไปทำมาหากินครับ อิอิคือไปทำให้หลักสูจน์การติดตั้งสายอากาศทีวี ครับ เนื่องด้วยผมและเพื่อนๆได้ร่วมกันเปิดหลังสูตรการเรียนทางอินเตอร์เน็ตในชื่อ www.eon49.com ก็แค่นี้เอง ส่วนเนื้อเรื่องในตอนที่25นี้ก็ได้เอามาจากในห้องเรียนของwww.eon49.com มาเล่าให้เพื่อนๆที่ไม่ค่อยได้เข้าอินเทอร์เน็ตได้รับทราบ ด้วยความคิดข้อความที่ปรากฎในอินเทอร์เน็ตนั้น หากเป็นการอ้างทางวิชาการนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะมันอาจถูกลืมทิ้งไปในเวลาหนึ่ง สิ่งนี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในเวลาหนึ่งนั้นอันหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งคือ ข้อความที่แปะขึ้นเวบนั้นยังไม่มีองค์กรยืนยังเรื่องความจริงและความถูกต้อง การใช้และการเข้าถึงทำได้จากโลกไร้กระดูก ซึ้งไม่ใช้สังคมปกติ
เรื่องราวของเรานั้นคงเป็นประเด็นแรก คือเรื่องราวที่เป็นประโยชน์นี้อาจถูกลบหายไปในอนาคต นิตยาสารยังคงเป็นฐานที่มั่น ซึ่งยืดยาว มีกองบรรณาธิการทำหน้าที่กลั่นกรองสาระและความถูกต้องตอนที่ต้องพิจรณาลงพิมพ์ ซึ่ง เรียกว่าเป็น Gate keeper
อาการสัญญาณแรงเกินไป
อาการนี้เหมือนอาการ AGC ไม่ดี และเหมือนอาการใส่บูสต์แล้ว แต่สัญญษณ INPUT แรงเกินกว่าที่บูสต์จะทนได้ คือ ภาพที่เห็นในหน้าจอที่คล้ายกัน แต่ต้นเหตุต่างกัน ดังนั้นท่านจึงแยกให้ออก คือ.. เมื่อติดตั้งสายอากาศเสร็จแล้ว(ค่ำว่าเสร็จในที่นี้คือความวัดเครื่องวัดสัญญาณ ว่าไดต่ำแหน่งที่สัญญาณแรงสุดและได้ใช้ทีวีที่ปกติ(ทีวีที่ไม่เสีย)ลองดูภาพแล้วว่าภาพปกติดีและภาพก้สวยดี) แต่พอจ่ายสัญญาณไปเข้าเครื่องลูกค้าภาพดูไม่ได้ คือภาพลายมีสัญญาณช่องอื่นกวนอยู่ นั้นหมายถึง ทีวีเสีย
"สำหรับอาการนี้เสียที่เครื่องรับโทรศัพน์ และเสียวงจร AFTที่บอกว่าเสียอยู่ที่วงจร AFTก็เพราะว่าเราไม่มี บูสต์เตอร์ ดังนั้นท่านต้องตัดเครื่องบูตส์เตอร์ออกไปได้เลย"
รูปที่1 แสดง Attenuator ที่ใช้ลดความแรงของสัญญาณ
ปัญหาคือว่า ลูกค้าไม่ยอมรับว่า ทีวีของเขาเสีย ลูกค้ายืนยีนทั้งบ้านว่า ทีวีของเขาก็ดูอยู่ทุกวัน(หมายถึงคนในหมู่บ้านบอกว่าทีวีของเขาดีอยู่)
ในเมื่อเจอลูกค้าแบบนี้ก็ต้องแก้ที่ปลายเหตุแล้วแหละครับ คือเอา Attenuart มาลดสัญญาณลงเพื่อจะทำให้ลูกค้าดูภาพได้ และจได้เก็บเงินและกลับบ้านได้
จบไปหนึ่งอาการแล้วครับ เรื่องราวต่อจากนี้ไปก็เป็นเรื่องราวที่เพื่อนๆ ในเว็บไซต์เขาถามตอบกันครับ ผมเลยเอามาฝากสำหรับท่านที่มีอินเทอร์เน็ตหรือไม่ค่อยมีเวลาถ่างตาเฝ้าหน้าจอ ได้อ่านได้ทราบกันอีกสักเรื่อง
ระบบสายอากาศทีวีในตัวอาคารรับไม่ชัด
ถาม:จากคุณ Nimit (Un) (อันนี้เป็นตั้งกระทู้ครับ) ระบบสายอากาศทีวีในตัวอาคารรับไม่ชัด ใช้บูสต์ของยี่ห้อทาฟน์อยู่ อธิบายเพิ่ม
1.ใช้ทีวีตึกละ 12 เครื่อง ใช้ Boosters ตึกละ 1 เครื่อง 2 ตึก ใช้ Boosers 2 ตัว
2.ตึกที่ 1 ชัดทุกห้อง ตึกที่ 2 ไม่ชัด 3 ห้องท้าย
3.ทั้ง 2 ตึก ใช้อุปกรณ์รุ่นเดียวกันทุกอย่าง
4.สาเหตุที่ใช้ Boosters ตึกละเครื่อง เดิม 2 ตึก ต่อสายอากาศร่วมกันอยู่ ชัดทุกช่อง เวลานี้ตึกที่ที่ 2 ไม่ชัดเลยต่อใช้ Boosters เพิ่มตึกที่ 2 เพื่อให้ชัดปรากฎว่า 3 ห้องท้ายไม่ชัดช่วยวิเคาะห์หน่อยครับ ลองสลับ Boosters กันแล้วจุดที่ 2 ก็เหมือนเดิม
ความเห็นที่1 : จากคุณ E21fnw (ชื่อคนตอบกระทู้) ท่านที่ยังไม่เป็น น. ศ. ของ www.eon49.com ด้วยครับ เก่งมากด้วยนะเป็นคนหนุ่มไฟแรงคนหนึ่งครับ
-สายอากาศชนิดไหน..
-บูสต์เตอร์ ยี่ห้อไหน..
-การต่อวงจร MATV มีอะไรบ้าง ต่อกันอย่างไร..
-สายนำสัญญาณ ชนิดไหน...
-มีTV&FM Leer ไหมละ จุดต่างๆ ความแรง สัญญาณเท่าไร
-หรือจะไปดูที่ www.eon49.com ควรมิควรแล้วแต่พิจรณา
ความเห็นที่2 : จากคุณ Nimit (Un)
1.สายอากาศ RG 6สีขาวธรรมชาติ
2.บูสต์ทาฟน์ รุ่น WA 35/131N ปรับเกณฑ์ได้
3.การต่อแบบสายเดียวเข้าสปลิตเตอร์ 1 ออก 4 ทาง จำนวน 3 ตัว เท่ากับ12 เครื่อง ต่อ 1 ตึก
4.อีกตึกต่อแบบเดียวกัน
5.สายอากาศถูกแยกด้วยสปลิตเตอร์ 2 ทาง เข้าบูสต์เตอร์ 2 เครื่อง (2 ตึก)
6.ไม่มีเครื่องมือวัดทดสอบครับ
รูปที่ 2 แสดงการต่อสปลิตเตอร์
ความเห็นที่3 : จากคุณ พรเทพ (ชื่อผมในเว็บครับ)
การต่อแบบสายเดียวเข้าสปลิตเตอร์ 1 ออก 4 ทาง จำนวน 3 ตัว เท่ากับ 12 เครื่อง ต่อ 1 ตึก (ข้อความอ้างถึง)ต่อยังไงถึงยังไงถึงได้ 12 จุด ครับ ทำไมผมต่อได้แค่ 10 จุด ครับ(มีงานระดับนี้ควรเรียนรู้หลักสูจูตรติดตั้งสายอากาศทีวีอย่างเซียนนะครับ งั้นชิ้นเดียวก็คุ้ม แล้วครับ)
ความเห็นที่4:จากคุณNiMit(Un)ขออภัยอีกครั้ง สปลิตตามที่พี่วาดนั้นละครับ แต่เป็น 4 ตัว(ผมมั่วเอง นึกภาพไม่ออก มันอยู่ในฟ้า)
ความเห็นที่5:จากคุณ พรเทพ
งั้นก็นึกไปเรื่อยๆ ก่อนนะ การทำงานต้องใช้หลักการและเหตุผล แต่คุณใช้นึกเอา ผมก็ไม่รู้จะพูดอย่างไงต่อไปแล้วครับ ผมก็ได้แต่นึกเอาเหมือนคุณแหละ เพราะผมก็ไม่เห็น ผมไม่ได้ทำ ไม่ได้วัดสีญญาณ ดังนั้นนอกจากนึกแล้วคงทำอะไรไม่ได้แล้วและ
ความเห็นที่6:จากคุณ นิมิตร อย่าทำอย่างนั้น งานซ้อมชิ้นนี้ ผมไม่ได้เป็นคนไปตรวจซ่อม เป็นช่างไฟฟ้าอีกคนเป็นคนดูแล และตั้งกระทู้ถามใช้ชื่อผมอีก ผมได้วิเคาะห์จาการไปซ้อมที่เกิดเหตุมาแล้วตั้งแต่เช้าช่างไฟฟ้าของผมใช้สปลิตเตอร์ราคาถูกในจุดที่ 4 ทำให้สัญญาณอ่อน มันเลยไม่ชัด ผมได้เปลี่ยนสปลิตเตอร์แล้ว ใช้งานได้ดี แต่ที่บอกแรงสลับบูสต์เตอร์(ไม่รู้สลับเมื่อไหร่)น่าจะเกิดจากการปรับอัตราไม่ดี ผมที่ได้จึงต่างกัน
ความเห็นที่7: จากคุณ E21fnw กล่าวโดยกว้างๆต้องรู้หลักทษฎี เทคนิคการปฎิบัติ เช่น
-จุดรับสัญญาณอยู่ห่างจากเสาส่งไกลเท่าไร...ทิศทางไหน..
-การเลือกใช้สายอากาศ อุปกรณ์เกี่ยวข้องในระบบสายอากาศ
-ความสูงของเสาอากาศเท่าไร....เป็นอย่างต่ำ
-เทคนิคการติดตั้งสายอากาศโทรทัศน์
-ความแรงสัญญาณ ที่ได้จากสายอากาศเบื้องต้นแต่ละช่องกี่ dB
-จำนวนจุดรับชม ระยะห่างของแต่ละจุดรับชม
-การเลือกใช้บูสต์เตอร์ รุ่นไหน อย่างไร
-การเลือกใช้ Tap-off , splitter แบบไหนอย่างไร
-การเลือกใช้สายนำสัญญาณ การเข้าหัวอย่างถูกวิธี
-การคำนวณ+ออกแบบ MATV ให้แต่ละจุดมีการคมชัด
-เทคนิดการปรับแต่งสัญญาณ ในระบบ TV& FM Level Meter
-และอื่นๆที่นำมาพิจรณา ช่วงมีคุณภาพสามารถวอเคราะห์อาการ สาเหตุและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในระบบ MATV ได้อย่างแต่ว่าทำให้ดูได้ ต้องทำให้ดีที่สุด มีคุณภาพ ถูกหลักการภาคทษฏีและปฎิบัติ
*ควรมิควรแล้วแต่พิจรณา เจริญพร อิอิ จบแล้วครับเป็นไงบ้างครับ ได้อ่านข้อความต่างๆ จากในเว็บ เพื่อนๆรู้สึกอย่างไรบ้างครับ*
เจาะจานดาวเทียม ตั้งเสาเอียงก็รับครบ!! (มาติดจานมูฟกันดีกว่า)
ย้อนกลับไปเมื่อ 400 ปีที่แล้ว กาลิเลโอปราชญ์ชาวอิตลี่ได้นับบรรดานักปราชญ์และนักศึกษารวมทั้งผู้ที่สนใจทั้งหลายให้มาพิสูจน์ เพื่อหักล้างความเชื่อเดิมที่ว่า วัตถุที่หนักกว่าจะตกพื้นก่อนวัตถุที่เบากว่า โดยกาลิเลโอเชื่อว่าวัตถุถึงแม้จะมีน้ำหนักต่างจากกันแต่จะตกถึงพื้นพร้อมกัน เมื่อถึงวันนัดกาลอเลโอ ได้ขึ้นไปที่ระเบียงยอดหอเอนที่เมืองปิชา แล้วทิ้งก่อนตะกั่วกลมที่มีน้ำหนัก 10 ปอนด์ และ20 ปอนด์ลงมาพร้อมกัน ปรากฎว่าก่อนตะกั่วทั้ง 2 ตกลงมาถึงพร้อมกัน แต่ก็ยังมีพวกที่ไม่เห็นด้วยตะโกนถามว่าแล้วทำไมใบไม้จึงตกถึงพื้นช้ากว่าก้อนตะกั่ว กาลิเลโอให้เหตุผลว่าการที่ใบไม้ตกถึงพื้นช้ากว่า เพราะมีแรงตานทานอากาศคอยพยุงไว้ การทดลองในวันนี้นนับเป็นจุดเริ่มของทิศฎีแรงโน้มถ่วงที่ค้นพบ โดย เซอร์ไอแซค นิวตัน ที่เราใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน..
รูปที่1 กาลิเลโอ
รูปที่2
สวัสดีครับ ท่านได้ทราบถึงการในการติดตั้งจานแบบ DUO,TRIO เพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียม 2 และ 3 ดวงด้วยจานเทียวเพียงใบเดียว จากบทความในตอนนี่ผ่านมาแล้ว ในฉบับที่เราจะมาติดตั้งจานแบบมูฟ(MOVE)ดวงกันดูบ้าง
จานมูฟท่านคงเห็นถึงความแตกต่างไป จากจานแบบฟิกซ์ที่จัดเจนก็คือ มีมอเตอร์ขับจานติดตั้งอยู่ที่คอจาน และคอจานเองก็มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากคอจานแบบฟิกซ์ด้วยเช่นกัน โดยคอจานแบบมูฟนี้จะมีแกรนหมุน 1 แกนสำหรับกวาดหน้าหน้าจานดาวเทียวไปยังดวงเทียมดวงต่างๆแกรนหมุนนี้เรียกว่าแกรนโพล่าร์(Polar Monut)
หากยังจำกันได้ในกรณีของจานแบบฟิกซ์ เมิ่อท่านต้องการปรับหน้าจานไปรับดาวเทียมดวงอื่นๆ ท่านจะต้องปรับมุม ก้ม-มุมส่าย-มุมโพลาไรซ์ของ LNBF ให้ตรงกับตำแหน่งของดาวเทียมที่ต้องการรับ จึงจะรับสัญญาณได้ แต่สำหรับจานมูฟแล้ว ด้วยคอจานแบบโพล่าร์เม๊าท์ หลังจากติดตั้งและปรับหน้าจานได้ถูกต้องแล้ว การมูฟหน้าจานเพื่อหันไปรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงอื่นๆ ทำแค่เพียงปรับแกนหมุน Polar เพียงแกนเดียวเท่านั้นท่านก็จะรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงต่างๆได้โดยไม่ต้องมา ปรับมุมส่ายหรือมุมโพลาไรซ์ที่ LNBF อีกเลย
แต่ก่อน อื่นเราคงต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องหลักการพื้นฐานกันก่อนนะครับ ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อที่ผิดๆ
รูปที่3 จานมูฟ
ดูจากรูปที่3 จานมูฟท่านคงเห็นถึงความแตกต่างไปจากจานแบบฟิกซ์ที่ชัดเจนก็คือ มีมอเตอร์ขับจานติดตั้งอยู่ที่คอจาน และคอจานเองก็มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปจากคอจานแบบฟืกซ์ได้เช่นกัน โดยคอจานแบบมูฟนี้จะมีแกนหมุน1 แกนสำหรับกวาดหน้าจานดาวเทียม ไปยังดาวเทียมดวงต่างๆ แกนหมุนนี้เรียกว่าแกนโพล่าร์(Polar)คอจานชนิดนี้จึงถูกเยกว่า โพล่าร์เม๊าท์ (Polra Mount)
หากยังจำกันได้ในกรณีจานแบบฟิกซ์ เมื่อท่านต้องการปรับหน้าจานไปรับดาวเทียมดวงอื่นๆ ท่านจะต้องปรับมุมก้ม -มุมส่าย-มุมโพลาไรซ์ของ LNBF ให้ตรรงกับตำแหน่งของมูฟแล้ว ดาวเทียมที่ต้องการรับ จึงจะรับสัญญาณได้ แต่สำหรับจานมูฟแล้ว ด้วยคอจานแบบโพลาเม๊าซ์ หลังจากติดตั้งและปรับหน้าจานได้ถูกต้องแล้ว การมูฟหน้าจานเพื่อหันไปรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงอื่นๆ ทำแค่เพียงปรับแกนหมุน Polar เพียงแกนเดียวเท่านั้นท่านจะรับสัญาณจากดาวเทียมดวงต่างๆ ได้โดยไม่ต้องปรับหมุนส่ายหรือมุมโพลาไรซ์ที่ LNBF อีกครั้ง
รูปที่4 รูปคอจานมูฟ
แต่ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องของหลักพื้นฐานกันก่อนนะครับ ทั้งนี้เนื่องจากความเชื่อที่ผิดๆที่ได้รับถ่ยทอดมาจากค่ายอื่นนั้น นอกจากจะทำให้เสียเวลาในการปรับแล้ว ยังทำให้รับสัญญาณได้ไม่ครบ นอกจากนี้ยังทำให้ท่านแก้ปัญหาไม่ตกอีกด้วย หากท่านได้เคยเป็นตัวแทนจำหน่ายไดน่าแซทหรือเข้าอบรมการติดตั้งจานมูฟจากไดน่าแซท ท่านจะทราบดีว่าการติดตั้งจานมูฟให้รับสัญาณจากดาวเทียมได้ครบและได้แรงนั้นจำเป็นต้องปรับมุมชดเชยด้วยเสมอ เรายืนยันเช่นนี้มาด้วยตลอด 15 ปี
รูปที่5 เปรียบเทียบจาน มูฟ-ฟิกซ์
แต่ค่ายอื่นกลับบอกว่าไม่ต้องปรับมุมชดเชย เพราะมุมชดเชยมีไว้สำหรับปรับแก้ในกรณีที่ตั้งเสาเอียงหรือพื้นเอียงแถมยังสำทับอีกว่า ที่จานของบางบริษัท(คงหมายถึงจานของไดน่าแซท)ต้องปรับมุมชดเชยก็เพราะจานและคอจานที่ผลิตมา แต่ละชุดนั้นไม่ได่มารตฐานเลยต้องปรับมุมชดเชยว่าเข้าไปนั้น มาดูกันครับว่าจริงๆแล้วเป็นอย่างไร
เริ่มจากความเชื่อที่ว่า "เสาเอียงจะทำให้ปรับจานมูฟรับดาวเทียมได้ไม่ครบ" ย้อนกลับไปตอนที่ 2(ฉบับที่128) ท่านได้ทราบแล้วว่าการติดตั้งจานดาวเทียมนั้นไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพยายามตั้งเสาให้ได้ฉากเป๊ะๆ ทุกด้านแต่ความเชื่อจากค่ายอื่นก็ยังแย้งว่า จานฟิกซ์มันหมูถึงเสาเอียงก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่เป็นจานมูฟแล้ว เสาเอียงจะทำให้ปรับหน้าจานมูฟรับดาวเทียมได้ไม่ครบแน่ๆ ดูจากรูปที่6 จะเห็นได้ชัดเจนนะครับว่า ไม่ว่าเสาตั้งจานจะเอียงไปในทิศทางใดก็ตาม ไม่ได้
รูปที่ 6เสาเอียง
รูปที่7 ตัววัดมุม
มีผลต่อมุมต่างๆที่ปรับจานเลยในทางกลับกับหากท่านมีความเชื่อแบบเก่าๆแล้วเมื่อรับสัญญาณได้ไม่แรงหรือรับไม่ได้ครบทุกดวงถึงจะเสียเวลาพยายามตั้งเสาให้ได้ฉากทุกด้านก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะแก้ปัญหาไม่ถูกจุดแบบรู้ไม่จริงกลับจะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
จากรูปที่6 แสดงให้เห็นถึงเสาที่เอียงในมุมต่างๆท่านจะพบว่า ไม่ว่าเสาจะเอียงไปในมุมเท่าใดหรือทิศทางใดก็ตามมุมชดเชยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยรวมทั้งมุมก้ม-เงยก็ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน
รูปที่8วงจรดาวเทียม สำหรับปรับแก้ในกรณีที่ตั้งเสาเอียงหรือพื้นเอียง จึงไม่เป็นความจริง
บางท่านดูจากรูปแล้วอาจจะบอกถึงมุมชดเชยไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มุมแก้ม-เงย นั้นยังอยู่ในตำแหน่งเดิมทั้งนี้เพราะเราวัดมุมก้มเงย และมุมชดเชยด้วยตัวมุม ซึ้งวัดมุมเทียบกับแรงดึงดูดของโลกนะครับไม่ได้วัดเทียบ กับเสาหวังว่าหลายท่านคงจำกันได้
รูปที่9 ดาวเทียมที่รับได้
เมื่อถึงตอนที่เกิดคำถามว่า แล้วมุมชดเชยนี้มีไว้ ปรับเพื่ออะไรกันแน่ ก็คงต้องทบทวนกันอีกครั้งว่า รายการที่ส่งรายการโทรทัศน์ผ่านผ่านดาวเทียมให้เราได้รับชมกันนั้นมีวงโคจรที่ลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรดังรูปที่ 8 และเนื่องจากอณาเขตของประเทศไทยนั้นอยู่ทัดจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางเหนือ เมื่อท่านจะหันมองวงโคจรของดาวเทียม จึงต้องยืนหันหน้าไปทางทิศใต้ และลองจินตนาการดูว่าวงโคจรของดาวเทียมเปรียบเสมือนรุ้งกินน้ำตัวใหญ่มากๆ พากทางทิศตะวันออกจรดทิศทิศตะวันตก จากนัน้นลองกางแขนออก ให้ขนาดกับพื้นแล้วเบี่ยงของท่านเข้าไปปลายของเจ้ารุ้งกินน้ำตัวใหญ่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกสามารถที่ต้องเบี่ยงแขนเข้าไปหาก็เพราะว่า เจ้ารุ้งกินน้ำตัวใหญ่ในจินนาการของเรานั้นไม่ได้เกิดเหนือตัวท่าน แต่เกิดเหนือตัวท่าน แต่เกิดขึ้นด้านหน้าของท่านถัดไปทางทิศใต้ ซึ่งมุมแขนที่เบี่ยงไปทางจินตนาการของท่านนั้นก็คือมุมชดเชยนั้นเอง
คราวนี้เรามาดูรูปคอจานของจริงเปรียบเทียบกับจินตนาการเมื่อสักครู่ ท่านจะเข้าใจได้โดยทันที ซึ่งพอจะสรุปให้เข้าใจได้ว่า มุมชดเชยนั้นมีไว้สำหรับ ปรับขดเขยให้เอียงไปรับสัญญาณดาวเทียมได้ครบทุกดวงนั้นเอง
ลงมือปรับจาน
เมื่อทราบถึงวิธีการวัดมุมกันมาแล้ว ตอนนี้ถึงเวลาของการลงมือภาคปฎิบัติเพื่อทดลองและทดสอบ ว่าสิ่งที่ผ่านได้รับรู้ไปสามามรถใช้ในภาคปฎิบัติเพียงไร เทคนิคหรือกลยุทธ์เป็นส่วนให้งานติดตั้งจ่ายขึ้นนั้นใช้หรือไม่ วิธีการอันดับเป็นรูปแบบเฉพาะนี้ แม้เคยติดตั้งมาบ้างแล้ว ก็มิควรพลาด
ช่วงสงกรานต์ผ่านมาหลายๆ ท่านคงมีโอกาสได้เดินทางท่องเทียวไปกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูงถือเป็นการเพิ่มพลังให้ชวิตที่ดีวิธีหนึ่ง หลายท่านคงมีโอกาสที่ดีกว่าได้ เดินทางท่องเที่ยวไปในต่างประเทศ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากจะได้พักผ่อนแล้วยังได้เห็นความแตกต่างทางด้านความ เจริญก้าวหน้าภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่ผ่านๆมาหลายคนได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่พบเห็น ในต่างประเทศมาใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุระกิจใหม่ๆ หรือนำมาประยุกต์ ใช้กับกิจการที่ทำอยู่แล้ว ตัวอย่างก็มีให้เห็นกันอยู่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ทั้งหลาย ธุรกิจสปา หรือแม้แต่รายการเกมส์โชว์ในบ้านเราหลายรายการ ก็มีที่มาจากรายการในต่างประเทศ รายการในต่างประเทศ
รูปที่1 แสดงให้เห็นชนิดของ F-Type Connector แบบต่างๆ
อย่างไรก็ตาม การเดินทางท่องเที่ยวไปใน โลกกว้างก็มีค่าใช้จ่ายมีสูงมากกว่าด้วย แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันชุดจานดาวเทียมเพียงชุดเดียว ก็ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้มาปรากฎที่หน้าจอทีวีในบ้าน เช่นกัน ดังสโลแกนชอง ไดน่าแซทที่ว่า "เปิดโลกทัศน์ ชัดทุกมุมมองโลก"
ทดลองปรับจาน
ฉบับนี้เป็นตอนที่ 3 แล้วเราจะมาทดลองปรับจานเพื่อรับสัญญาณจริงกันเลยนะครับ และดาวเทียมที่เราจะปรับไปรับสัญาณไปรับดาวเทียมที่เราปรับ ไปรับสัญญาณก็คือดาวเทียม Thaicom 2 และ Thaicom5 ที่มีวงโคจรหรือจุดจอดเดียวกัน ณ ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ในความเป็นจริงแล้วจานดาวเทียมทั้งสองดวง อยู่ห่างกันเล็กน้อย แต่เนื่องจากระยะทางที่ไกลจากโลกมากจึงทำให้เสมือนว่าดาวเทียมทั้งสองลอยอยู่ในตำแหน่ง เดียวกันจากตอนที่แล้ว หลังจากประกอบชุดจานดาวเทียมเสร็จเรียบร้อย ก็มาถึงขั้นตอนการเตรียมสายสัญญาณ
ก.การเตรียมสายสัญญาณ ให้ท่านเตรียมสายบนำสัญญาณ RG-6/U เพื่อต่อเข้ากับขั้วต่อ สำหรับข้อต่อสัญญาณนั้น เราจะใช้ขั้วต่อแบบเอฟ ชื่อเต็มๆคือ F-Type หรือหัว F-Type ขั่วต่อ F-Type นั้นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน ทั้งแบบบีบ แบบอัดกั้นน้ำ และแบบหมุนเกลียว ดังเช่นตัวอย่างที่แสดงชนิดต่างๆเอาไว้ในรูปที่ 1
รูปที่2 การเข้าหัวสายนำสัญญาณ
ในการนี้เราจะเลือกใช้แบบหมุนเกลียว ที่นิยมกันมากเนื่องจากมีข้อเด่นบางประการเช่น
1.ราคาประหยัด
2.ถอดเอามาใช้ใหม่ หรือประกอปใหม่ได้
3.ไม่ต้องใช้เครื่องมือ พิเศษในการเข้าหัวสายแต่ถ้าเป็นแบบอื่นๆ ท่าน จะต้องซื้อ ครีมชนิดพอเศษสำหรับบีบอัด
การยึดขั้ว F-Type แบบเกลัยวก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ปอกสาย พับสายชีลด์และฟอยล์ แล้วก็หมุนขั้ว F-Type เข้าไปตามทีเห็นในรูปที่2 ก็เสร็จแล้ว หากดูแล้วยังไม่สวยงามก็ถอดออกมาทำใหม่ได้ นี้แหละข้อดีกว่า
รูปที่3 การต่อสายเข้ากับเครื่องรับดาวเทียมและเครื่องรับโทรทัศน์
ข.เตรียมเครื่องรับทีวีเพื่อมอมิเตอร์ เมื่อเตรียมสายนำสัญญาณ RG-6/U เรียบร้อยแล้วให้จัดเตรียมเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมและทีวีวางไว้ใกล้ๆพจานดาวเทียมที่จะทำการปรับ จากนั้นต่อสายนำสัญญารจาก LNBF มายังเครื่องรับดาวเทียม และต่อสายสัญญาณภาพและเสียงจากเครื่องรับไปยังทีวี ในการทำงานภาคสนามจริง !! อย่างลืมเตรียมปลั๊กไฟพ่วงยาวๆไว้ด้วยนะครับ
ค. การปรับหามุม ในการปรับจานฟิกซ์นั้น หากดูที่คอจานจะสังเกตุเห็นว่าหน้าจานจะปรับได้ 2 แกนโดยการปรับมุมส่าย (Azi-Nuts)และมุมก้ม-เงย( Elevation) ค่ามุมทั้ง 2 นี้ หลายๆค่ายจะให้มาเป้นตารางค่ามุมติดตั้งแต่ละจังหวัด ซึ้งจะคำนวณค่ามุมโดย อิงจากจุดที่ตั้ง ณ ศษลากลางจังหวัดนั้นๆ แต่เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วอาณาเขตของแต่ละจังหวัด นั้นกว้างใหญ่มากตัวอย่างอย่างที่เห็นชัดเจน คือจังหวัดเชียงใหม่ ตาก และประจวบคีรีขันธ์ ดังนั้นหากท่านทำการติดตั้งจานดาวเทียมในอำเภอเมือง ค่ามุมต่างๆที่ให้มาก็จะคลาดเคลื่อน จากจุดที่ติดตั้งจิงไปมากจนหลายๆครั้งหาสัญญาณจนไม่เจอเลายก็มี!!
ส่วนขั้นตอนนในการหาค่ามุมตามแบบฉบับของ ไดน่าแซด นั้นจะมีความแม่นยำกว่ามาก เริ่มจากหาจุดที่ที่ท่านทำการติดตั้งโดยดูจากแผนที่ ที่ให้มา เพื่อรู้พิกัดเส้นรุ้ง (Lati-tude) และเส้นแวง ZLogitude) เรียบร้อยแล้ว เราจะนำพิกัดที่ได้มาป้อนเข้าไปในเดรื่อง Dynasat Number 1 mini เพื่อให้เครื่องคำนวณหาค่ามุมต่างๆให้สำหรับการป้อน
รูปที่5 แสดงแผนที่
รูปที่6 การหาค่ามุมในการปรับจานฟิกซ์
ข้อมูลทำตามขั้นตอนในรูปที่ 6 ได้เลย เมื่อได้ค่ามุมก้มและมุมส่ายแล้ว
-นำค่ามุมก้ม มาตั้งที่ตัววัดมุม
-ส่วนค่ามุมส่ายแล้วด้วย
-นำค่ามุมก้มมาตั้งที่ตัววัดมุม
ส่วนค่ามุมส่ายเราจะนำมาติดตั้งที่ตัวเข็มทิศ (การติดตั้งค่าใช้งานเข็มทิศและตัววัดมุม ที่ถูก วิธีหาอ่านได้จากตอนที่2 ในฉบับที่ผ่านมานะครับ)
จากนั้นเราจะทำการปรับมุม โพลาไรซ์ Polarize และโฟกัส Focous ของตัว LNBF จะนำมาเนอในตอนต่อๆไป
ตอนนี้ทุกอย่างก็พร้อมแล้วเรามาลงมือปรับจานกันเลยก่อนอื่นตรวจสอบดูว่าสายสัญญาณต่างๆ ได้ต่อถูกต้องไว้เรียบร้อยแล้ว
เปิดเครื่องรับดาวเทียมและทีวี เปิดเมนูแสดงความแรงของสัญญาณ (ดูได้จากรูปประกอบรูปที่ 9 และรูปที่ 10)
ขั้นตอนแรก จะทำการปรับมุมสายด้วยเข็มทิศ
ขั้นตอนต่อไป จะทำการปรับมุมก้มโดยใช้ตัววัดมุมในการการวัดมุมก้มนี้จะมีความสำคัญมาก หากตั้งมุมก้มได้ถูกต้องแล้ว การหาสัญญาณจะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะตัววัดมุมที่เราใช้สำหรับวัดมุมก้มนั้นจะวัดมุมเทียบกับแรงดึงดูดของโลกซึ้งถือว่ามีความถูกต้องแล้วยังหาสัญาณจะเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะตัววัดมุมที่เราใช้สำหรับมุมก้มนั้นจะวัดมุมเทียบกับแรงดึงดูดของโลกซึ้งถือว่ามีความถูกต้องแม่นยำมาก เมื่อท่านปรับมุมก้มได้เรียบร้อยแล้วขันนอตร็อคไว้ไม่ต้องแน่นมาก ในตอนนี้ถ้าโชคดีสนามแม่เหล็ก ณ จุดที่ติดตั้งชี้ตรงในแนวเหนือ- ใต้จริง ท่านอาจจะรับสัญญาณได้แล้ว แต่หากยังรับสัญญาณได้แล้ว แต่หากยังรับสัญาณไม่
รูปที่7 วิธีตั้ง LNBF สำหรับจานฟิกซ์
ได้ให้ลองค่อยๆส่ายหน้าจานไปทางซ้าย หรือขวาช้าๆ โดยสังเกตแถบสัญญาณ "Signal Quality" ซึ้งจะเป็นแถบสีแดงแสดงคุณภาพของสัญาณที่รับได้เมื่อเริ่มรับสัญาณได้แล้ว เราจึงจะมาทำการปรับอย่างละเอียด เพื่อให้รับสัญาณได้แรงที่สุด
ง. การปรับละเอียด การปรับมุมส่าย
การปรับอย่างละเอียดนั้นเราจะทำการขันน๊อดทุกตัวให้แน่นพอดี อย่าแน่นมาก จากนั้นใช้นิวค่อยๆ ดันที่ขอบจานดาวเทียมไปทางซ้าย-ขวาเบาๆ แล้วสังเกตดูว่าดันไปทางไหนแล้วแถบสัญาณ Quality จะมีค่าสูงขึ้น จึงคายน็อตเพียงเล็กน้อยเพื่อส่ายหน้าจานไปในทิศทางที่ต้องการ
การปรับมุมก้ม
ส่วนการปรับมุมก้มอย่างละเอียด เราก็จะทำคล้ายกันคือ ล็อคนอต ที่ใช้ปรับมุมก้มเงยให้แน่นพอประมาณ จากนั้นใช้ปลายนิ้วค่อยๆ ดันที่ขอบจานขึ้น-ลง ดันเพียงเบาๆ ก็พอแล้วต้องคอยสังเกตด้วยว่าดันไปทางไหนที่สัญญาณแรงมากขึ้นเมื่อทราบทิศทางแล้วเราก็ค่อยๆ คลายนอตทางด้านที่ท่านจะปรับเพียงนิดเดียวประมาณ1/4เกลียว แล้วปรับนอตอีกตัวตามมาร็อค ทำแบบนี้จนได้สัญญาณที่แรงสุด
การปรับมุม โพลาไรซ์(Polarize) และ โฟกัส (Focus) ที่ตัว LNBF อย่างละเอียดก็จะช่วยให้รับสัญญาณได้แรงขึ้นเช่นกัน เมื่อทำการปรับ LNBF และหน้าจานจนกระทั้งด้สัญญาณแรงเป็นที่หน้าพอใจแล้ว อย่าลืมทำการขันสกรู และน็อตให้แน่นทุกตัวและยึดหมวกครอบพลาสติกกั้นน้ำให้เรียบร้อยด้วยสกรูเกลียวปล่อย ส่วนสัญาณนำสัญญาณ ก็ใช้คลิปพลาสติกยึดให้เรียบร้อย การเดินสายเข้ามุมอย่าหักฉากเพราะจะทำให้สัญญาณศูนย์เสียไป การเดินสายให้โด้ง และควรระมัดระวังเรื่องน้ำฝนที่อาจจะไหลไหลย้อนมาตามสายนำสัญญาณด้วย
รูปที่9 การหาสัญญาณจริง
รูปที่10 เมนูแสดงความแรงของสัญญาณ